โปรโมชั่น ประจำปี 2568
Transport Safety Manager (TSM) มีหน้าที่ดำเนินการวางแผนและจัดการเดินรถ, ตรวจความพร้อมของรถ, ตรวจสอบและติดตามการเดินรถ, จัดทำรายงานอุบัติเหตุพร้อมวิเคราะห์, และเก็บรักษาข้อมูล
จากข้อมูลสถิติ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี 2554 - 2564 พบว่าอัตราการเสียชีวิตมีอัตราสูงมา และไทยยังคงจัดอยู่ในหนึ่งประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด และมีถนนที่อันตรายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเส้นทางอันตรายที่สุดในโลก
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย มาจากสาเหตุหลักคือ
มูลเหตุจากพฤติกรรมผู้ขับรถ เช่น ขับรถตามกระชั้นชิด, หลับใน, ขับรถเร็ว
จากยานพานะ เช่น ระบบเบรกชำรุด, สภาพยาง
จากถนนและสิ่งแวดล้อม เช่น ถนนลื่น, ไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่าง
ภัย (Hazard) หมายถึง สภาวการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บของบุคคล หรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน รวมถึงกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตามปกติของบุคคล โดยปกติ การกำหนดภัยแบ่งเป็น 4 เรื่องคือ
ภัยอันตรายจากสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว (Static hazard) คือภัยจากวัตถุคงที่ เช่น ทางโค้ง, สี่แยก, วงเวียน เป็นต้น
ภัยอันตรายจากสิ่งที่เคลื่อนไหว (Moving hazard) ประกอบไปด้วย 6 ประเภท ได้แก้ คนเดินถนน, นักปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, สัตว์, รถยนต์, ยานพาหนะขนาดใหญ่
ภัยจากสภาพถนนและสภาพอากาศ (Road and weather condition) ซึ่งอาจเปลี่ยนสภาพสู่สถานการณ์อันตรายได้
ผิวทางชำรุด เป็นบ่อ, ถนนเปียก น้ำท่วม
หมอกและควัน
ถนนดินโคลน, สภาพอากาศลมแรง, แสงแดดจ้า
ภัยจากความมืด (Darkness) มีผลต่อการใช้ความรเ็วและไฟของรถที่อาจทำให้ตาพร่า
อันตราย (Danger) หมายถึง สภาวะที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะมีระดับความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพการปฏิบัติงานและการป้องกัน
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย(Unsafe Act) สภาพที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition)
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นสาเหตุ 85% ของทั้งหมด เช่น ขับรถด้วยความเร็วสูงขณะการจราจรหนาแน่น
ในขณะที่สภาพที่ไม่ปลอดภัยคิดเป็นเพียง 15% เช่น คาดการผิด, ประมาท, หยอกล้อขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
อุบัติการณ์ (Incident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ปราถนาให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการสูญเสียตามมา เช่น การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ อะไหล่ไม่ครบ มีผลต่อการวางแผนเดินรถ
อุบัติการณ์ทางถนน (Road incident) คือ อุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับพนักงานขับรถ หรือส่งสินค้า โดยไม่มีใครคาดคิด ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจเกิดผลกระทบต่อพนังกาน ทรัพย์สิน ฯลฯ เล็กน้อย จนถึงใหญ่มากได้
เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss accident) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับพนักงานพนักงานขับรถโดยไม่คาดคิด เกิดแล้วไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ไม่คาดหวังใด ๆ ที่เกิดขึ้น และมีความเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง โดย
มีผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บ
ยานพาหนะเสียหาย สูญหาย
สินค้าเสียหาย
เทคนิคการชี้บ่งอันตราย (Risk identification)
การค้นหาอันตรายต่าง ๆ ที่มีอยู่ และแฝงในแต่ละกระบวนการ กิจกรรม หรือเส้นทางการขนส่ง เพื่อให้สามารถระบุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (TSM) สามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธีใดในการประเมิน เช่น checklist
การหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง หรือลดความเสี่ยง (Risk avoidance / reduction) คือการลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรือความรุนแรง โดย TSM มีหน้าที่แนะนำการหลีกเลี่ยง, เช่น ห้ามใช้โทรศัทพ์ขณะขับขี่, หรือดื่มสุรา เป็นต้น
กระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน
กระบวนการการทำงานที่เป็นมาตรฐาน คือ ระบบการจัดการที่ประกอบด้วย ข้อกำหนดการทำงาน, นโยบาย, วัตถุประสงค์ และการจัดแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ
การวางแผน การดำเนินการ และติดตามตรวจสอบเพื่อปรับปรุง มีการนำหลักการ PDCA มาใช้ โดย
วางแผนการปฏิบัติงานความปลอดภัยทางถนน - กำหนดบทบาท หน้าที่รับผิดชอบ, วิธีการและระยะเวลา รวมถึงทรัพยากรที่จำเป็น
การดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน ทรัพยากร บทบาทหน้าที่ ได้ทบทวนปรับปรุง
การตรวจสอบ และการปฏิบัติการแก้ไขด้านความปลอดภัยทางถนน มีการติดตามและวัดผล
มาตรฐานต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ เช่น ISO39001, ISO45001
มาตรฐาน ISO39001 ระบบบริหารความปลอดภัยทางถนน มีข้อกำหนดหลัก 10 ข้อ ตามโครงสร้างระดับสูง โดยมีหัวใจหลักสำคัญในการวัดความสำเร็จคือ RTS performance ที่เป็นเป้าหมายหลัก
ระบบบริหารองค์กร เพื่อจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง
นอกจากจะต้องมี TSM แล้ว ยังต้องมีโครงสร้างบุคลากรในการจัดการด้วย ซึ่งมักจัดทำเป็นผังองค์กร (Organization chart) โดยยืดหยุ่นลักษณะตามขนาดและธรรมชาติองค์กร
มีสัญชาติไทย, อายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ และผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร, ระยะเวลา และผ่านการทดสอบความรู้ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
อาจมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านการขนส่งไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเป็น จป. วิชาชีพ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนนที่สำคัญ ได้แก่
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
การประกอบการขนส่ง ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง มี 4 ประเภท ได้แก้
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตมีอายุ 7 ปี
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งรถโดยสารขนาดเล็ก น้ำหนักรถและบรรทุกรวมไม่เกิน 4000 กิโลกรัม มีอายุ 5 ปี
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล น้ำหนักรถและบรรทุกรวมไม่เกิน 2000 กิโลกรัม มีอายุ 5 ปี
หน้าที่ผู้ประกอบการขนส่ง
ผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติดผู้ประจำรถ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ชับรถ ขณะมีอาการเมาสุรา, มึนเมา เสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ต้องดูแลป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขณะเมาสุรา หรือมึนเมา หากพบการฝ่าฝืน ผู้ประกอบการขนส่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็น และใช้ความระวังป้องกันแล้ว (เช่น มีการตรวจเป่าแอลกอฮอล์ก่อนปฏิบัติงาน)
รถ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง สำคัญคือ
1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2524) มาตรา 9 กำหนดมี 3 ลักษณะคือ
รถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารมี 7 มาตรฐาน
รถที่ใช้ขนส่งสัตว์หรือสิ่งของมี 9 ลักษณะ
รถขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและสิ่งของรวมกัน ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
2) รถที่จะนำมาใช้ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง และมีมาตรฐาน หากฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
3) รถคันใดสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง ผู้มีอำนาจสั่งระงับเป็นการชั่วคราวได้ เช่น ควันดำ
4) มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) กำหนดห้ามมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ผู้ประกอบการขนส่งต้องติดป้ายทะเบียนและเครื่องหมายเสียภาษี หากไม่ปฏิบัติตามปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ผู้ขับรถ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีข้อกำหนดผู้ขับรถ ประกอบด้วย ผู้ขับรถ, ผู้ประจำรถ, ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำรถ
ใบอนุญาตขับเป็นผู้ขับรถมี 4 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 รถนำหนักรวมบรรทุกไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือโดยสารไม่เกิน 20 คน
ประเภทที่ 2 รถนำหนักรวมบรรทุกเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือโดยสารเกิน 20 คน
ประเภทที่ 3 รถสภาพใช้ลากจูงรถอื่น
ประเภทที่ 4 รถขนส่งวัตถุอันตราย
หน้าที่ผู้ขับรถตามกฎหมาย
ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถถูกต้อง ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ผู้ขับรถต้องแต่งกายเรียบร้อย ไม่ขับรถหากหย่อนสมรรถภาพ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ต้องไม่เสพสุรา มึนเมา ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่ขับรถเกินจำนวนชั่วโมงกฎหมายกำหนด ใน 24 ชั่วโมง ห้ามขับรถติดต่อเกิน 4 ชั่วโมง พักไม่น้อยกว่า 30 นาที ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 5,000 บาท
พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522
ข้อกำหนดด้านการบรรทุก กำหนดข้อกำหนดไว้ในมาตรา 18 - 20
รถความกว้างไม่เกินความกว้างรถ, ความยาวไม่เกินกระจังหน้ารถ ด้านหลังยื่นพ้นรถไม่เกิน 2.5 เมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร
กรณีรถกว้างกว่า 2.3 เมตร บรรทุกสูงไม่เกิน 4 เมตร กรณีมี container สูงไม่เกิน 4.2 เมตร
ข้อกำหนดความเร็วในการขับขี่
เขต กทม, พัทยา, เทศบาล รถบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม ขับไม่เกิน 60 กม/ชม นอกเขต ไม่เกิน 80 กม/ชม
รถบรรทุกลากจูงพ่วง เขต กทม, พัทยา, เทศบาล ความเร็วไม่เกิน 45 กม/ชม นอกเขตไม่เกิน 60 กม/ชม
รถบรรทุกวัตถุอันตราย วิ่งไม่เกิน 60 กม/ชม - ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษศรีรัช / ฉลองรัช, ไม่เกิน 70 กม/ชม - ทางพิเศษบูรพาวิถีและอุดรรัถยา
ทางพิเศษ กทม - พัทยา, ทางพิเศษหมายเลข 9 รถบบทุกไม่เกิน 1200 กิโลกรัม ไม่เกิน 100 กม/ชม, อื่น ๆ ไม่เกิน 80 กม/ชม
ข้อห้ามการเดินรถ ข้อห้ามเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้ติดตามข้อบังคับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ความเร็วที่กฎกระทรวงมีการกำหนดไว้ ดังนี้
รถยนต์ ความเร็วไม่เกิน 120 กม/ชม ขวาสุดความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กม/ชม
รถบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือโดยสารเกิน 15 คน ไม่เกิน 90 กม/ชม
รถลากจูง สี่ล้อเล็ก สามล้อ ไม่เกิน 65 กม/ชม
จักรยานยนต์ ไม่เกิน 80 กม/ชม แต่ขนาด 400 ซีซีขึ้นไป ไม่เกิน 110 กม/ชม
รถโรงเรียน ไม่เกิน 80 กม/ชม
รถโดยสาร 7 - 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 100 กม/ชม
รถบด แทรกเตอร์ เกษตรกรรม ไม่เกิน 45 กม/ชม
การนำระบบบริหารความปลอดภัยทางถนน (ISO39001:2012 Road Traffic Safety Management System) มาประยุกต์ใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรมีความปลอดภัยในการขับขี่, เสริมสร้างความมุ่งมั่น ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้ายั่งยืน, สร้างความปลอดภัยต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้รถใช้ถนน, และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันขององค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า, ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
สนใจฝึกอบรมจัดทำระบบ ติดต่อเรา ยินดีให้คำปรึกษากับทุกองค์กร
ติดต่อที่ปรึกษาจัดทำระบบ ISO39001, RTSMS หรืออื่น ๆ โทร. 084-1147666
#RTSMS, #RoadSafety, #ISO39001, #RTS, #TSM