โปรโมชั่น ประจำปี 2568
หนึ่งในเครื่องมือหลักที่สำคัญของระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า หรือ APQP ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการอย่างหนึ่ง
ก่อนหน้านี้ ข้อกำหนดและรายละเอียดของ APQP มีการอ้างอิงถึงตาม คู่มือ APQP and Control Plan 2nd Edition, July 2008 ซึ่งไม่ได้มีการอัพเดทมานาน และได้มีการแยกคู่มือออกเป็น 2 เล่ม คือ APQP 3rd Edition และ Control Plan 1st Edition March 2024
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนเป็นฉบับล่าสุด เมื่อเดือน มีนาคม 2024 ที่ผ่านมา โดยยังคงหลักการนำไปใช้เหมือนเดิม อ้างอิงตามข้อกำหนดเฉพาะลูกค้าในการนำไปบังคับใช้ เป็นส่วนเสริมจากข้อกำหนดหลัก IATF16949:2016
ลูกค้าที่เป็น OEM subscribe หลายรายก็ได้มีการเริ่มบังคับใช้ให้นำไปปฏิบัติ เช่น Ford กำหนดให้ต้องเริ่มนำไปใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2024 ที่ผ่านมา
APQP และ Control plan มีการแยกรายละเอียดของคู่มือแผนควบคุม (Control Plan) ออกไป ในครั้งนี้ สำหรับ APQP มีการปรับปรุงรายละเอียดหลายส่วนด้วยกัน
มีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ทั้งวิธีการ, เทคโนโลยี ของการผลิตและกระบวนการ
มีการรวบรวม บทเรียนรู้จากโครงการและปัญหาในอดีต
เพิ่มเติมรายละเอียดของ "Safe Lunch" เพิ่มการกักกัน/การควบคุมที่เข้มงวด ก่อนหน้าที่จะมีการผลิตจำนวนมาก (Mass production)
อ้างอิงข้อกำหนดเฉพาะลูกค้าโดยไม่ต้องการเอกสารฉบับเต็ม
Sub-tier suppllier ของ Ford ต้องอ้างอิง APQP ตาม APQP manual 3rd Edition
มาตรฐาน IATF16949:2016 ข้อกำหนดที่กล่าวถึง โดยตรง คือ
8.3.2.1 การวางแผนการออกแบบและพัฒนา – ส่วนเพิ่มเติม
องค์กรต้องมั่นใจว่าการวางแผนการออกแบบและพัฒนา ได้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่งหมดที่ได้รับผลกระทบภายในองค์กรและห่วงโซ่การส่งมอบขององค์กร, ตามความเหมาะสม, ตัวอย่างกิจกรรมที่ต้องใช้แนวทางการใช้ความคิดที่มาจากหลากหลายสายงานอย่างน้อยต้องครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้
การบริหารโครงการ ( ตัวอย่างเช่น APQP หรือ VDA-RGA )
โดยในกระบวนการของ APQP คือ การบริหารโครงการ ที่มีกระบวนการโครงสร้างและขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพและสมรรถนะทั้งหมด
เป้าหมายของการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับทุกคนที่เกี่ยวข้องให้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนจะสำเร็จตามเวลา การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารในความพยายามที่จำเป็นในการบรรลุความพึงพอใจของลูกค้า
หน้าที่ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตามขอบเขตความรับผิดชอบ แยกองค์กรออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. องค์กรที่รับผิดชอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design responsible) - ต้องนำ APQP ทุกเฟสมาประยุกต์ใช้
2. องค์กรที่ไม่มีความรับผิดชอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ (No-design responsible) รับผิดชอบในการผลิตหรือบริการเท่านั้น (heat treatment, warehousing, transportation, software uploading, และอื่นๆ) บางส่วนของเฟส 1, 2 ไม่ต้องนำมาใช้ ซึ่งต้องมีการปรึกษากับลูกค้าว่าเอกสารและผลลัพธ์ใดบ้างที่ต้องการเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องตามต้องการลูกค้าทั้งหมด
นอกเหนือจาก 2 กรณีนี้ให้ปรึกษาลูกค้าเพื่อความชัดเจน
เมื่อมีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product)
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่อผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน (Change on the current product)
เมื่อมีการร้องขอจากลูกค้า
แต่งตั้งหัวหน้าทีม (Team assignment) เพื่อดูแลโครงการ อาจจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในแต่ละ ระยะเวลาของโครงการ รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมเพิ่มเติม เช่น จากผู้ส่งมอบ
ทำความเข้าใจข้อกำหนดลูกค้าทั้งหมด (Statement of Requirement) ระบุลูกค้าทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งกำหนดความต้องการลูกค้า เช่น แบบ (drawing)
ประเมินความเป็นไปได้ของการออกแบบ, ข้อกำหนดด้านสมรรถนะ, และกระบวนการผลิต
ระบุค่าใช้จ่าย, กรอบระยะเวลา, และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึง
กำหนดเอกสารที่จำเป็นและกระบวนการในการรักษาและอัพเดทข้อมูล
กำหนดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการสื่อสารข้อมูลของทีม APQP กับหน่วยงานออกแบบของบริษัทแม่ และลูกค้า (Communications)
การพัฒนาและทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ ตามข้อกำหนดลูกค้าทั้งหมด เริ่มต้นจากเสถียรภาพและความสามารถในห่วงโซ่อุปทาน
การประสานงานในกระบวนการจัดซื้อ และทีม APQP เป็นส่วนที่สำคัญ เพื่อทำการคัดเลือกและยืนยันแหล่งที่มาของวัตถุดิบ, อุปกรณ์, และการบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายเสร็จสิ้นทันเวลา
ผู้ขายปัจจุบันและผู้ขายรายใหม่ จำเป็นต้องได้รับการประเมินให้มั่นใจว่ามีความสามารถทำการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตามเวลา
ควรต้องมี checklist สำหรับการจัดหาผู้ขายเพื่อยืนยันความเหมาะสม, และแผนงานเพื่อลดความเสี่ยง (สามารถใช้ A-9 sourcing checklist ได้)
องค์กรต้องกำหนดวิธีการชี้บ่งผู้ขายที่มี “ความเสี่ยงสูง” โดยอาจมีเกณฑ์ประกอบด้วยดังนี้
เป็นผู้ขายรายใหม่ขององค์กร / สถานที่ผลิตใหม่ / เทคโนโลยีใหม่
มีประวัติด้อยคุณภาพ / มีประวัติสินค้าคืนจากผู้ใช้รถ
ไม่มี certificate ISO9001 หรือ IATF16949
มีปัญหาในอดีตที่ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของคุณภาพที่ลูกค้า
เป็นผู้ขายชิ้นส่วนที่มีข้อบังคับกฎหมายหรือความปลอดภัย
องค์กรควรเลือกผู้ขายที่ไม่อยู่ในกลุ่ม “ความเสี่ยงสูง” เว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีผู้ขายรายอื่น, หรือกำหนดโดยลูกค้า ซึ่งควรต้องมีมาตรการเพิ่มเติม เช่น
จัดการประชุม APQP kick-off
จัดให้มีการประชุม APQP อย่างสม่ำเสมอ
จัดทำแผนบรรเทาความเสี่ยงร่วมกับผู้ขาย
รายงานสถานะความเสี่ยงของผู้ขาย และแผนการบรรเทาความเสี่ยงระหว่าง ประชุม APQP กับลูกค้า
แผนงานควรประกอบด้วย
กิจกรรมที่ต้องทำ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดวันที่เริ่มและเสร็จสิ้นของแต่ละขั้นตอน
ความคืบหน้าของงาน
แผนงานนี้จะใช้สำหรับติดตามความคืบหน้าของโครงการด้วย ลูกค้าบางรายอาจกำหนดรูปแบบของแผน APQP อาจอยู่ในรูปของ
Gantt Chart (Time Chart)
Status Report
หรือในรูปแบบอื่นที่ลูกค้ากำหนด
0. การจัดตั้งทีมงานและกำหนดขอบเขต
1. การวางแผนและกำหนดเป้าหมายโครงการ
2. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. การออกแบบและพัฒนากระบวนการ
4. การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
5. ผลตอบกลับ การประเมิน และการดำเนินการแก้ไข
แบบฟอร์ม สรุปการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์และอนุมัติ ระบุว่า รายการที่มีผลลัพธ์ที่ไม่สมบูรณ์ หรือยอมรับไม่ได้ จำเป็นต้องทำแผนการดำเนินการแก้ไข
แนะนำให้องค์กรจัดสรรกระบวนการยกระดับความเร่งด่วนในการจัดการปัญหา (Escalation) ที่ชัดเจนทั้งภายในองค์กร และกับลูกค้า ในกรณีที่การตรวจสอบความพร้อมของขั้นตอน (Gate review) สรุปผลได้ว่าผลลัพธ์ไม่สมบูรณ์ยอมรับได้
การนำระบบบริหารคุณภาพ (ISO9001:2015 Quality Management System) และระบบบริหารคุณภาพสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (IATF16949:2016) รวมไปถึงเครื่องมือหลักต่าง ๆ (Core tools) อันประกอบไปด้วย APQP, Control Plan, PPAP, FMEA, MSA และ SPC มาประยุกต์ใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กร เสริมสร้างความมุ่งมั่น ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน, สร้างความสม่ำเสมอด้านคุณภาพ, และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันขององค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า, ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
สนใจฝึกอบรมจัดทำระบบ ติดต่อเรา ยินดีให้คำปรึกษากับทุกองค์กร
ติดต่อที่ปรึกษาจัดทำระบบ ISO9001, IATF16949, Core tools หรืออื่น ๆ โทร. 084-1147666
#QMS, #Quality, #APQP, #IATF16949, #Automotive, #Coretools