โปรโมชั่น ประจำปี 2568
แผนควบคุม (Control Plan) เป็นเอกสารที่บรรยายถึงระบบ และกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการควบคุมผลิตภัณฑ์ โดยมีการอ้างอิงในข้อกำหนด IATF16949:2016 รายละเอียดที่จำเป็นสำหรับเนื้อหา ภายใน control plan นั้นอ้างอิงตามภาคผนวก A (Annex A) ซึ่งต้องมีครบถ้วน โดยรูแบบของเอกสารไม่ได้มีการจำกัดรูปแบบ
ก่อนหน้านี้ ข้อกำหนดและรายละเอียดของ control plan ยังมีการอ้างอิงถึง คู่มือ APQP and Control Plan 2nd Edition, July 2008 ซึ่งไม่ได้มีการอัพเดทมานาน และได้มีการแยกคู่มือออกเป็น 2 เล่ม คือ APQP 3rd Edition และ Control Plan 1st Edition March 2024
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนเป็นฉบับล่าสุด เมื่อเดือน มีนาคม 2024 ที่ผ่านมา โดยยังคงหลักการนำไปใช้เหมือนเดิม อ้างอิงตามข้อกำหนดเฉพาะลูกค้าในการนำไปบังคับใช้ เป็นส่วนเสริมจากข้อกำหนดหลัก IATF16949:2016
ลูกค้าที่เป็น OEM subscribe หลายรายก็ได้มีการเริ่มบังคับใช้ให้นำไปปฏิบัติ เช่น Ford กำหนดให้ต้องเริ่มนำไปใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2024 ที่ผ่านมา
การแยกรายละเอียดของคู่มือแผนควบคุม (Control Plan) ในครั้งนี้มีการปรับปรุงรายละเอียดหลายส่วนด้วยกัน
มีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ทั้งวิธีการ, เทคโนโลยี ของการผลิตและกระบวนการ
มีการรวบรวม บทเรียนรู้จากโครงการและปัญหาในอดีต
การใช้งานแผนควบคุม (Control plan) เพื่อให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงการผลิตที่มีรูปแบบอัตโนมัติมากขึ้น
เพิ่มเติมรายละเอียดของ "Safe Lunch" เพิ่มการกักกัน/การควบคุมที่เข้มงวด ก่อนหน้าที่จะมีการผลิตจำนวนมาก (Mass production)
มีตัวอย่างรายละเอียดเฉพาะส่วนของการนำไปใช้ เช่น Rework, ขนาดตัวอย่าง/ความถี่, การทวนสอบยืนยันอุปกรณ์ป้องกันข้อผิดพลาด เป็นต้น
การปรับปรุงแบบฟอร์ม ในส่วนของ Reaction plan ให้ละเอียดมากขึ้นโดยเพิ่ม Action และ Owner/Responsible
ในการจัดทำควรทำการปรึกษากับลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการจัดทำสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า (CSR)
ข้อกำหนดสำหรับแผนควบคุม (Control plan) มีดังนี้
แบบฟอร์ม Control Plan - ใช้แบบฟอร์มใดก็ตาม ต้องประกอบไปด้วยเนื้อหาอย่างน้อยเป็นไปตามข้อกำหนดใบ Chapter 2 ของ การพัฒนาแผนควบคุม (ตาม Control Plan 1st Edition) แนะนำให้ใช้ตามแบบฟอร์มตามคู่มือแผนควบคุมฉบับล่าสุด
แบบฟอร์ม Control Plan - ใช้แบบฟอร์มใดก็ตาม ต้องประกอบไปด้วยเนื้อหาอย่างน้อยเป็นไปตามข้อกำหนดใบ Chapter 2 ของ การพัฒนาแผนควบคุม (ตาม Control Plan 1st Edition) แนะนำให้ใช้ตามแบบฟอร์มของ
คุณลักษณะพิเศษ (Special Characteristics) - คุณลักษณะพิเศษทั้งหมด (ผลิตภัณฑ์และกระบวนการ) ต้องรวมในแผนควบคุม, DFMEA ที่คะแนน S = 9, 10 จะส่งต่อไปยัง PFMEA และกำหนดเป็นคุณลักษณะพิเศษ
คุณลักษณะส่งผ่าน (Pass-Through Characteristics, PTC) คือ คุณลักษณะของชิ้นส่วนที่ผลิตภายในกระบวนการของผู้ส่งมอบ (Supplier) และใช้ในกระบวนการขององค์กรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือการทดสอบยืนยันเพิ่มเติม - องค์กรต้องระบุคุณลักษณะใด ๆ ที่เป็นไปตามนิยาม “Pass-Through Characteristics” ตามที่กำหนดในคู่มือเล่มนี้ หรือ ตามที่ตกลงกับลูกค้า, องค์กรต้องบันทึกคุณลักษณะส่งผ่านทั้งหมด และวิธีการควบคุมที่ “จุดควบคุมสุดท้าย” สำหรับแต่ละ PTC
การยืนยันอุปกรณ์ป้องกันข้อผิดพลาด (Error-Proofing Confirmation) - อุปกรณ์ป้องกันข้อผิดพลาดต้องถูกระบุไว้ในแผนควบคุม, วิธีการและความถี่ในการยืนยันประสิทธิผล หรือการทำงานที่ถูกต้องของอุปกรณ์ป้องกันข้อผิดพลาดต้องรวมอยู่ในแผนควบคุม
แผนควบคุมแบบกลุ่ม (Families of Control Plan) - องค์กรต้องระบุหมายเลขชิ้นส่วนแต่ละรายการที่เกี่ยวข้องซึ่งครอบคลุมโดย “แผนควบคุมแบบกลุ่ม Families Control Plan”
Rework and repair processes - หากการแก้ไขซ่อมแซม (Rework) ทำโดยการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกลับเข้าไปผ่านกระบวนการเดิมอีกครั้ง แผนควบคุมต้องระบุอย่างชัดเจนถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกระบวนการแก้ไขซ่อมแซม, กรณีใช้กระบวนการอื่นต้องแยก Rework control plan, การซ่อมแซม (Repair) ทุกกระบวนการต้องมีแผนควบคุมของการซ่อมแซม
รายละเอียดของแผนการตอบสนอง (Reaction plan details) - พื้นที่แผนการตอบสนอง ของแผนควบคุม ต้องระบุการดำเนินการที่เฉพาะเจาะจงที่จะดำเนินการ หรือ อ้างอิงถึงเอกสาร หรือวิธีปฏิบัติงานของระบบที่ระบุการดำเนินการเฉพาะเจาะจงที่ต้องดำเนินการในกรณีของ ออกนอกการควบคุม “Out of Control” และ/หรือ ออกนอกสเป็ค “Out of Specification” และ ต้องระบุบุคคล (ตามตำแหน่งหรือบทบาท) ที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามที่ระบุหรืออ้างอิงถึงเอกสาร
การดำเนินการตรวจสอบ 100% (100% Visual inspection) - หากมีการใช้วิธีการตรวจสอบด้วยสายตา 100% แผนควบคุมต้องรวมการตรวจสอบด้วยสายตาอย่างสม่ำเสมอ เช่น การสุ่มตรวจประเมินตัวอย่างผู้ตรวจประเมินที่มีคุณสมบัติเหมาะสม การตรวจวัดนอกสายการผลิต เพื่อทวนสอบผลการตัดสินใจของการตรวจวัด หรือวิธีที่คล้ายกัน
Black-box processes - แผนควบคุมต้องมีเป็นไปตามข้อกำหนดของคู่มือเล่มนี้
สำหรับแผนควบคุมฉบับล่าสุด ยังคงมี 3 ประเภทหลักตามที่อ้างอิงในข้อกำหนด IATF16949:2016
ข้อ 8.3.4.3 Prototype programme - สำหรับ Prototype control plan
ข้อ 8.5.1.1 Control Plan - สำหรับ Pre-launch และ Production control plan
ส่วนเพิ่มสำหรับแผนควบคุม (Control plan) ฉบับล่าสุดนี้ คือ การเพิ่มเข้ามาของ "Safe Launch"
Safe Launch – การกักกัน/การควบคุมที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งเพิ่มเติมการควบคุมจากแผนควบคุมทดลองผลิตเสมือนจริง (Pre-launch Control Plan) หรือ แผนควบคุมการผลิตจริง (Production Control Plan)
หาก Safe Launch ถูกใช้เป็นการเสริมแผนควบคุมทดลองผลิตเสมือนจริง ให้ทำเครื่องหมายทั้งช่อง “Pre-launch” และ “Safe Launch”
หาก Safe Launch ถูกใช้เป็นการเสริมแผนควบคุมการผลิตจริง ให้ทำเครื่องหมายทั้งช่อง “Production” และ “Safe Launch”
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้โดยตรงจากคู่มือ Control Plan AIAG manul 1st Edition หรือปรึกษาเราได้ตลอดเวลา
การนำระบบบริหารคุณภาพ (ISO9001:2015 Quality Management System) และระบบบริหารคุณภาพสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ (IATF16949:2016) รวมไปถึงเครื่องมือหลักต่าง ๆ (Core tools) อันประกอบไปด้วย APQP, Control Plan, PPAP, FMEA, MSA และ SPC มาประยุกต์ใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กร เสริมสร้างความมุ่งมั่น ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน, สร้างความสม่ำเสมอด้านคุณภาพ, และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันขององค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า, ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
สนใจฝึกอบรมจัดทำระบบ ติดต่อเรา ยินดีให้คำปรึกษากับทุกองค์กร
ติดต่อที่ปรึกษาจัดทำระบบ ISO9001, IATF16949, Core tools หรืออื่น ๆ โทร. 084-1147666
#QMS, #Quality, #ISO9001, #IATF16949, #Automotive, #Coretools